AUSBILDUNG
Ausbildung คือ ระบบการศึกษาพร้อมกับการฝึกงาน เปรียบเทียบง่ายๆ คือ การเรียนอาชีวะของประเทศเยอรมนี ผู้ที่เข้าเรียนในระบบนี้จะไม่ได้เน้นทางวิชาการมากนัก แต่จะได้เรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ในสายอาชีพนั้นๆ ที่มีให้เลือกกว่า 300 อาชีพ อีกทั้งยังอาจได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือสวัสดิการต่างๆ อีกด้วย โดย Ausbildung นั้น จะเป็นออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Duale Ausbildung (Dual Vocational Training System)
1. Duale Ausbildung (Dual Vocational Training System) ระบบนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในเยอรมนี เนื่องจากผู้เรียนได้รับทั้งความรู้เชิงทฤษฎีและทักษะการทำงานจริงไปพร้อมกัน
ลักษณะของประเภทนี้
– ผสมผสานระหว่างการเรียนที่โรงเรียนวิชาชีพ (Berufsschule) และการฝึกงานในสถานประกอบการ
– ปกติใช้เวลาฝึกอบรม 2 – 3.5 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพที่เลือก
– ระยะเวลาฝึกงานประมาณ 3-4 วันต่อสัปดาห์ และเรียนที่โรงเรียนวิชาชีพ 1-2 วันต่อสัปดาห์
– ได้รับ ค่าตอบแทนรายเดือน (Ausbildungsvergütung) จากบริษัทที่ฝึกงาน
2. Schulische Ausbildung (School-based Vocational Training)
2. Schulische Ausbildung (School-based Vocational Training) ระบบนี้เน้นการเรียนในโรงเรียนวิชาชีพเต็มเวลา โดยมีการฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
ลักษณะของประเภทนี้
– เรียนเต็มเวลาใน Berufsfachschule หรือ Berufskolleg (โรงเรียนฝึกอบรมวิชาชีพ)
– ใช้เวลาเรียน 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตร ระยะเวลาฝึกงาน 6 เดือน – 1 ปี
– ส่วนใหญ่แล้วการศึกษาประเภทนี้จะเป็นพวกสายอาชีพที่ใช้ความรู้เฉพาะทางอย่างอาชีพสายสาธารณสุข
– โดยทั่วไปจะไม่มีค่าตอบแทน ยกเว้นบางสาขา เช่น พยาบาล
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าหลักสูตร Ausbildung
จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือ ระดับ ปวช. และ ปวส.
ผู้สมัครควรมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป บางบริษัทอาจำจำกัดอายุที่ 18 – 35 ปี
ระดับภาษาที่กำหนดคือ B1 – B2 แต่หากมีระดับภาษา B2 ขึ้นไป อาจได้รับการพิจารณามากขึ้น
ประสบการณ์การทำงานอาจขึ้นอยู่กับแต่ละที่บริษัทกำหนด หรือ อาจจะไม่มีกำหนดว่าต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน
ตัวอย่างอาชีพยอดนิยมและค่าตอบแทนต่อเดือน (Updated 2025)

Nursing Professional (Pflegefachmann/-frau)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1 : 1230–1340 EUR
- ปีที่ 2 : 1296–1402 EUR
- ปีที่ 3 : 1403–1503 EUR

IT specialist (Fachinformatiker/in)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1 : 1,066–1,198 EUR
- ปีที่ 2 : 1,119–1,232 EUR
- ปีที่ 3 : 1,197-1,326 EUR

Hotel specialist (Hotelfachmann/-frau)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1 : 800–1,100 EUR
- ปีที่ 2 : 900–1,200 EUR
- ปีที่ 3 : 1,000–1,300 EUR

Bank clerk (Bankkaufmann/-frau)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1 : 1,183–1,300 EUR
- ปีที่ 2 : 1,244–1,370EUR
- ปีที่ 3 : 1,316–1,450 EUR

Health and Nursing Assistant (Gesundheits- und Pflegeassistent/in)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1: 682 - 1,264 EUR
- ปีที่ 2 : 805 - 1,323 EUR

Automotive mechatronics technician (Kfz-Mechatroniker / Kfz-Mechatronikerin)
ค่าตอบแทนต่อเดือน
** ค่าตอบแทนเป็นเพียงค่าเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท **
- ปีที่ 1: 864 - 1,198 EUR
- ปีที่ 2 : 904 - 1,232 EUR
- ปีที่ 3 : 953 - 1,326 EUR
- ปีที่ 4 : 1,009 - 1,397 EUR
บริการยื่นวีซ่า Ausbildung
ค่าบริการ 10,000 บาท
* ผู้สมัครต้องมีใบตอบรับจากสถาบันและบริษัทแล้วเท่านั้น
ขั้นตอนการขอวีซ่า Ausbildung
นัดหมาย
ยื่นจองคิววีซ่า และกรอกแบบฟอร์มคําร้องขอวีซ่า
จัดเตรียมเอกสาร
ตรวจสอบความถูกต้อง
ส่งเอกสาร
ผู้ยื่นวีซ่านำเอกสารไปยื่นที่ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
รอผลวีซ่า
รอผลการยื่นคำร้องวีซ่า 4 – 8 สัปดาห์
ติดต่อเจ้าหน้าที่
นำหนังสือเดินทางไปที่สถานทูตอีกครั้ง เพื่อติดหน้าวีซ่า และรอเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ เพื่อขอกำหนดการเดินทาง และประกันสุขภาพ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งเล่ม Passport กลับคืน
ออกเดินทาง
เตรียมตัวออกเดินทาง
รายละเอียด
วีซ่าระยะยาว - Ausbildung
ค่าธรรมเนียมวีซ่าระยะยาว
ค่าธรรมเนียมวีซ่าระยะยาว : 2,700 บาท (75 ยูโร)
หลักฐานการเงิน
หากทางบริษัทให้ค่าตอบแทนต่อเดือน อย่างน้อย 990 ยูโรต่อเดือน (ก่อนหักภาษี) (Updated 2025) จะถือว่ามีความมั่นคงทางการเงินเพียงพอ หากเงินเดือนจำนวนน้อยกว่าสามารถเปิดบัญชี Blocked Account เพื่อใช้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมได้
ที่มา : make-it-in-germany
รายการเอกสารประกอบการยื่นวีซ่าประเทศเยอรมนี ประเภทวีซ่า Ausbildung
- เอกสาร/หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอวีซ่า ได้แก่ (ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ):
- หนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งาน พร้อมสำเนาหน้าที่มีข้อมูลส่วนตัว 2 ฉบับ ในบางกรณีอาจต้องใช้หนังสือเดินทางเล่มเก่า
- รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
- แบบฟอร์มคําร้องขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
- ใบยืนยันรับทราบระเบียบข้อบังคับพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล มาตรา 13 และ 14
- หลักฐานการศึกษาทุกระดับที่ผ่านมา
- CV ประวัติส่วนตัว
- หลักฐานการประกอบอาชีพที่ผ่านมา (หนังสือรับรองการทำงาน ฯลฯ)
- หนังสือเขียนแสดงเหตุผล/แรงจูงใจหรือจุดมุ่งหมายในการเข้าเรียนหลักสูตร Ausbildung
- หลักฐานแสดงระดับความรู้ภาษาเยอรมัน ระดับ B1 ขึ้นไป
- สัญญาการฝึกงาน ที่ระบุเงินเดือน เวลางาน และอื่นๆอย่างชัดเจน พร้อมแผนการฝึกงานโดยละเอียด
สถานที่ยื่นขอวีซ่า Ausbildung
สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย
ที่อยู่ : 9 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
เวลาเปิดทำการ : จันทร์ –ศุกร์ ระหว่าง 8.30 –11.30 น.
บริการสมัครเข้าหลักสูตร Ausbildung
* Coming Soon *